วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของไลโคปีน(lycopene) ที่มีอยู่ในน้ำมันรำข้าวจมูกข้า่วพลัสRicebran and Germ Oil Plus ของบริษัท MIR

ประโยชน์ของไลโคปีน(lycopene)


      ไลโคปีน(Lycopene) มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินคำว่า lycopersicumซึ่งเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ บ่งบอกสปีชีส์ของมะเขือเทศ (Solanum lycopersicum)

      ไลโคปีนจัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์(carotenoid) ชนิดหนึ่งใน 600 ชนิด ละลายได้ดีในไขมันเช่นเดียวกับเบต้าแคโรทีนมีรงควัตถุ (pigment) สีแดง

       พบได้ทั่วไปในมะเขือเทศสุก ฝรั่ง (pink guava) แตงโม ส้ม มะละกอ แครอท ส้มโอสีชมพู ฟักข้าว (หรือ Gac furit

       มีสารไลโคปีน มากกว่ามะเขือเทศถึง 70 เท่า) และในผักผลไม้สีแดงต่างๆ (ยกเว้นสตรอเบอร์รี่และเชอร์รี่) แต่ไม่พบในสัตว์


     ไลโคปีนที่พบมี โครงสร้างทางเคมี 2 แบบคือ trans – configuration และแบบ cis-isomer โดยในธรรมชาติจะพบไลโคปีนแบบ trans – configuration

      แต่สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบ cis-isomer ได้เมื่อสัมผัสกับความร้อนหรือและสว่าง

     โดยในกระแสเลือดของคนเราพบไลโคปีนแบบ cis-isomer อยู่ถึง 60% เลยทีเดียว


      ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ไลโคปีนเองได้ ดังนั้นเราจึงต้องรับประทานไลโคปีนเข้าไปจากผักผลไม้ หรืออาหารเสริม

     โดยไลโคปีนจะไปกระจายอยู่ทั่วไปในเนื้อเยื่อบริเวณที่แตกต่างกัน 

     โดยส่วนใหญ่พบการสะสมของไลโคปีนมากที่ต่อมหมวกไต ลูกอัณฑะ และตับ 

     จากการศึกษาวิจัยพบว่าไลโคปีนที่ผ่านกระบวนการใช้ความร้อน (heat processed-lycopene)เช่นการปรุงอาหารร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีกว่าไลโคปีนในธรรมชาติ


       เนื่องจากไลโคปีนที่มีโครงสร้างแบบ cis -isomer ถูกดูดซึมได้ดีกว่าแบบ trans – configuration และแบบ cis -isomer

      จะสามารถละลายและรวมตัวกับกรดน้ำดี (bile acid micells)ได้ดีกว่าแบบ trans–configurationด้วย  

      นอกจากนั้นการใช้ความร้อนในการประกอบอาหารยังทำให้ไลโคปีนที่อยู่ในผนังเซลล์ของผักและผลไม้ละลายออกได้มากขึ้น

      ทำให้ดูดซึมในระบบย่อยอาหารได้ดีกว่ารับประทานแบบสดถึง 2.5 เท่า

      ดังนั้นหากจะรับประทานผักและผลไม้เพื่อให้ร่างกายได้รับไลโคปีนจึงควรนำผักและผลไม้ไปปรุงให้สุกก่อน



      มีผลการวิจัยทางการแพทย์ที่ระบุว่าเมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณของไลโคปีนในร่างกายจะลดลง

      ส่งผลให้โอกาสในการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง 

   โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมากมะเร็งปอดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก


      เนื่องจากไลโคปีนเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant)ที่มีความแรงมากและมีส่วนสำคัญในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง 

      กลไกการออกฤทธิ์ที่สำคัญคือเข้าไปจับกับอนุมูลอิสระ (Free radical) ในร่างกายซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการทำลายสายดีเอ็นเอ

      อันก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ไลโคปีนจะช่วยลดการก่อกลายพันธุ์ ทำให้สามารถยับยั้งวงจรชีวิตของเซลล์มะเร็งในช่วงต้น (ระยะ G1)

      และลดการเกิดเนื้องอกได้เมื่อเทียบกับสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดอื่นๆไลโคปีนเป็นแคโรทีนอยด์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


      เนื่องจากมีโครงสร้างที่ต่อกันเป็นสายยาวกว่า ดังรายงานการศึกษาเปรียบเทียบผลในการต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง

     พบว่าไลโคปีนมีฤทธิ์ที่ดีกว่าเบต้าแคโรทีนและแอลฟาโทโคฟีรอลถึง 2 และ 10 เท่าตามลำดับ

     มีความเชื่อว่าไลโคปีนสามารถปรับระบบฮอร์โมนและภูมิคุ้มกัน ตลอดจนเมตาบอลิซึมในร่างกายได้ 

  นอกจากนี้การรับประทานไลโคปีนในปริมาณสูงยังช่วย ยับยั้งเอนไซม์สำคัญที่ใช้สังเคราะห์คอเลสเตอรอล 

     และเร่งสลายคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีหรือ LDL (Low density lipoprotein) ที่มีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดแข็งตัวได้อีกด้วย


       ร่างกายของคนเราควรได้รับปริมาณไลโคปีน อย่างน้อย 6.5 มก.ต่อวัน 

       ซึ่งเทียบได้กับการทานมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบในอาหาร 10 ครั้งต่อสัปดาห์

       ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าการได้รับไลโคปีนมากเกินไปจะมีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

0

      ไลโคปีน 12.70 มก.มีอยู่ใน ผลิตภัณฑ์ Ricebran and Germ Oil Plus

ผลิตภัณฑ์ Ricebran and Germ Oil Plus กำลังได้รับความนิยมที่สุดในขณะนี้



ปริมาณและราคา1 กล่องบรรจุ 60 แคปซูลราคา1,260 บาท

ดูข้อมูลที่   http://ricebramandgermoilplusmir.blogspot.com


สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณ วรกัญณัฎฐ์  อัครเรืองวงศ์


โทร. 064-549-3661,095-163-9336

https://line.me/ti/p/~kunnut599

    อีเมล์ : kunnut59@gmail.com     




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น